Category: Parenting

เคล็ดลับวิธีการให้เด็กวัย 1-3 ปี ร่วมรับประทานอาหารกับครอบครัว

เด็กวัย 1-3 ปี แนะนำเคล็ดลับ ช่วงเวลากินข้าวกับครอบครัวเด็กวัย 1-3 ปี แนะนำเคล็ดลับ ช่วงเวลากินข้าวกับครอบครัว

หนึ่งในกิจกรรมที่ครอบครัว สามารถทำได้ตั้งแต่วัยเด็กไปจนกระทั่งวัยสูงอายุ นั่นก็คือการนั่งร่วมโต๊ะรับประทานอาหาร ซึ่งเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาดี ๆ ที่คนในครอบครัวจะได้มาแบ่งปันช่วงเวลาดี ๆ ด้วยกัน และสำหรับในบางครอบครัวช่วงเวลาเหล่านี้ก็เป็นช่วงเวลาในการไถ่ถามความรู้สึกหรือกิจกรรมประจำวันที่ได้ไปพบเจอมาด้วย สำหรับเด็กวัย 1 – 3 ปีการร่วมโต๊ะรับประทานอาหารกับพ่อแม่หรือครอบครัวก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ซึ่งจะทำให้มีการสานสัมพันธ์ทางใจที่ดีขึ้นและทำให้เด็กนั้นได้ทานสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย แต่สิ่งนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ซึ่งเราจะมาแนะนำเคล็ดลับวิธีการให้เด็กวัย 1-3 ปี ร่วมรับประทานอาหารกับครอบครัวกัน 1. ปลูกฝังลักษณะนิสัยในการทานผัก ปัญหาเด็กไม่กินผัก เป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่และเป็นปัญหาที่ทำให้หลาย ๆ ครอบครัวถึงกับปวดหัว และขยาดในช่วงเวลากินข้าว แต่ถ้าคุณหัดให้ลูกน้อยวัย 1 – 3

คำแนะนำเลี้ยงลูกน้อยวัย 2-8 ปี

คำแนะนำเลี้ยงลูกน้อยวัย 2-8 ปี เมื่อลูกร้องขอสิ่งต่างๆ ควรตอบอย่างไรให้สร้างสรรค์คำแนะนำเลี้ยงลูกน้อยวัย 2-8 ปี เมื่อลูกร้องขอสิ่งต่างๆ ควรตอบอย่างไรให้สร้างสรรค์

เด็กในช่วงวัย 2 – 8 ปีนี้เป็นช่วงที่กำลังอยู่ในวัยดื้อซนและมักจะมีการร้องขอสิ่งต่าง ๆ รอบตัวอยู่เสมอ เช่น ร้องขออยากไปเที่ยว, ร้องขออยากได้ของเล่น, ร้องขอไม่อยากอาบน้ำ และอื่น ๆ ดังนั้นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องทำก็คือตอบคำร้องขอของลูกอย่างสร้างสรรค์ เพื่อที่จะได้เป็นการปูพัฒนาการให้เด็กมีเหตุและผลต่อไป เกิดความสัมพันธ์ที่เข้าใจกันมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการลดแรงปะทะที่จะทำให้เกิดสงครามครอบครัวขึ้นมาอีกด้วย ซึ่งจะมีแนวทางอย่างไรมาดูกัน 1. ร้องขออย่างมีมารยาท เริ่มจากส่งเสริมการปลูกฝังมารยาทที่ดี ในการร้องขอให้กับลูกของคุณ ในกรณีที่ลูกของคุณเอ่ยปากถามคำถามหรือร้องขอต่าง ๆ อย่างสุภาพ ก่อนที่คุณจะตอบรับให้คุณชมลูกของคุณก่อนว่ามีการถามด้วยมารยาทที่ดี ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้เด็กสัมผัสได้ว่าร้องขอของเขานั้นเป็นไปอย่างถูกต้อง หรือในกรณีที่ลูกของคุณร้องขอด้วยประโยคที่ไม่สุภาพ เป็นไปในเชิงดื้อ,สะอื้น หรือเรียกร้องมากจนเกินไป

การวัดอุณหภูมิของลูกน้อย ที่คุณแม่ต้องรู้

การวัดอุณหภูมิของลูกน้อย ที่คุณแม่ต้องรู้การวัดอุณหภูมิของลูกน้อย ที่คุณแม่ต้องรู้

ในยามที่ลูกน้อยมีอาการไม่สบายร้องไห้งอแง หนึ่งในวิธีการตรวจสอบอุณหภูมิร่างกายเบื้องต้นก็คือการวัดไข้ แต่การวัดไข้ของลูกน้อยก็มีความแตกต่างจากการวัดไข้ของผู้ใหญ่ ซึ่งสำหรับคุณแม่คุณพ่อมือใหม่ ที่ยังไม่เคยวัดอุณหภูมิไข้ให้ลูกมาก่อน ซึ่งในบทความนี้เราก็มีวิธีการวัดไข้อย่างถูกต้องแม่นยำมาฝากกัน วิธีที่ดีที่สุดในการตรวจสอบอุณหภูมิร่างกายของเด็ก อุปกรณ์ที่คุณต้องใช้คือการใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิตอล เพราะมีความแม่นยำที่สุดและใช้งานง่ายมากที่สุด โดยคุณสามารถวัดอุณหภูมิได้จาก 2 จุด ได้แก่…ใต้ลิ้นหรือรักแร้ โดยเครื่องวัดอุณหภูมิทางหูและหน้าผากแบบดิจิตอลอาจใช้งานง่ายที่สุดก็จริงแต่ก็อาจคลาดเคลื่อนได้ กรณีที่คุณควรวัดอุณหภูมิให้ลูกน้อยทันที ได้แก่… ลูกไม่สบายและเมื่อนำมือไปสัมผัสร่างกายรู้สึกอบอุ่นกว่าปกติ เด็กหงุดหงิดและร้องไห้กว่าปกติ เด็กง่วงนอนมากกว่าปกติ  เด็กไม่ยอมดื่มน้ำ อาเจียน โดยอุณหภูมิร่างกายเฉลี่ยสำหรับเด็กที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 37°C หากอุณหภูมิของเด็กสูงกว่า 38°C แสดงว่าอาจมีไข้ ทางที่ดีควรตรวจสอบอุณหภูมิของลูกด้วยการใช้เทอร์โมมิเตอร์ การสัมผัสอุณหภูมิผิวของลูกด้วยการเอามือแตะหน้าผากเพียงอย่างเดียวไม่ใช่วิธีวินิจฉัยไข้ที่น่าเชื่อถือ คุณสามารถใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิตอลเพื่อวัดอุณหภูมิ ได้